หลังจากปาร์ตี้สังสรรค์อย่างหนักหน่วงเมาไม่ได้สติ หลายๆ คนมักตื่นมาพร้อมกับอาการเมาค้าง ซึ่งก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการที่เรียกว่า ‘Hangxiety’ ซึ่งเป็นอาการผสมระหว่างเมาค้าง (Hangover) กับความวิตกกังวล (Anxiety) เกิดขึ้น
Hangxiety จะแสดงอาการออกมารูปแบบการปวดศรีษะ อ่อนล้า กระหายน้ำ และคลื่นไส้ แต่จะมีความรู้สึกวิตกกังวลเกิดขึ้นตามมาด้วย โดยความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นนี้จะมีมากหรือน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน
เคร็ก กันน์ (Craig Gunn) อาจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยบริสตอล ซึ่งเคยทำการศึกษาเรื่องผลกระทบจากการเมาค้างต่อความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ได้อธิบายว่า “ในขณะที่ร่างกายกำลังฟื้นฟูจากการแฮงเอาต์ อาการเมาค้างจะทำให้เกิดสถานะความเครียดทางกายภาพขึ้นมา ซึ่งปกติแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ เนื่องจากอาการเมาค้างสามารถสร้างผลกระทบต่อร่างกาย รวมทั้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลต่อระดับคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนเครียด ความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นอาการลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นเมื่อมีความวิตกกังวล
นอกจากนี้อาการเมาค้างยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของสมอง จากการวิจัยพบว่า สมองทำกิจกรรมโดยมีโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งร่วมด้วยต่ำกว่าปกติเมื่อมีอาการเมาค้าง ซึ่งนี่คือปัจจัยสำคัญของความวิตกกังวลเมื่อเมาค้าง เพราะโดปามีนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมความวิตกกังวล จึงอาจทำให้บางคนรับมือกับความเครียดที่เพิ่มขึ้นในขณะเมาค้างได้ยาก และอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่มีอาการเมาค้าง
กันน์ ยังพบว่าผู้คนที่มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ระหว่างเมาค้าง สำหรับบางคนอาจรู้สึกมีปัญหามากขึ้นในการควบคุมอารมณ์เมื่อเทียบกับตอนที่ไม่ได้เมาค้าง นอกจากนี้เมื่อทีมวิจัยได้ดูงานวิจัยอื่นเกี่ยวกับอิทธิพลของการเมาค้างต่อความสามารถในการจัดการ (Executive Function – ความสามารถที่เกิดจากการทำงานของสมองที่ช่วยให้คนเราสามารถควบคุมความคิด อารมณ์ พฤติกรรมเพื่อให้ได้ผลลพัพธ์ที่ต้องการได้สำเร็จ) ที่ได้ใช้ชุดทดสอบสมรรถภาพทางจิตใจ (Mental Skill) กับผู้เข้าร่วมการศึกษาก็พบว่า คนที่เมาค้างมีประสิทธิภาพที่แย่ในส่วนของความสามารถในการจัดการหรือ Executive Function ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนรับมือกับความวิตกกังวลและหยุดความวิตกกังวลได้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่าหากสมรรถภาพทางจิตใจย่ำแย่ในขณะเมาค้าง ก็อาจเป็นการอธิบายถึงการมีปัญหาเรื่องความวิตกกังวลของบางคนตอนเมาค้างได้
ผู้เชี่ยวชาญยังระบุว่า นักดื่มที่มีอาการ Hangxiety อาจเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนแอ ประสบเหตุการณ์ด้านลบในชีวิต มีความเศร้าหรือความโกรธในขณะดื่ม รวมไปถึงคนที่รู้สึกผิดเมื่อดื่มเหล้า นอกจากนี้อาการเมาค้างผสมวิตกกังวลยังเกิดมากกว่าในคนขี้อายมาก และเชื่อมโยงกับอาการที่เป็นภาวะหรือโรคที่มีผลมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้ระดับอาการ Hanxiety แตกต่างกันในแต่ละคน
ส่วนการแก้ไขอาการ Hangxiety ทางผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่า ฝีกทำสมาธิ สงบจิตใจ และการดูแลตัวเองทั่วไป
ขอบคุณแหล่งที่มา https://www.gqthailand.com/lifestyle/article/hangover-anxiety
- June 29, 2022
- 187
- 0
- Uncategorized