การนั่งหน้าบาร์สั่ง “เนโกรนี” (Negroni) เมื่อสิบปีก่อนเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่รู้กันบอกกับบาร์เทนเดอร์ว่าคุณรู้ว่าคุณชอบอะไร นิตยสาร Bon Appétit บอกเอาไว้เช่นนั้น และเราก็เห็นด้วย

     ช่วงห้าปีที่ผ่านมา ค็อกเทลแก้วสีแดงอมส้มติดรสขมแสนสวยนี้ได้กลายมาเป็นเครื่องประดับติดมือนักดื่มทั้งชายและหญิงที่เห็นได้ตามบาร์ชั้นดีทั่วโลก “เนโกรนีก็ไม่ต่างกับกาแฟดำ หรือเมืองบางเมืองอย่างเท็กซัส ที่ต้องใช้ความชอบเฉพาะตัวถึงจะเพลินไปกับมัน” GQ อเมริการะบุไว้ และก็คงไม่ผิดนัก เพราะนี่เป็นเครื่องดื่มที่อาศัยวัตถุดิบหลักๆ คือเหล้าจิน เหล้าหวานอย่างเวอร์วุธ และอะเพริติฟสีแดงติดรสขมอัดแน่นด้วยสมุนไพรอย่างคัมพารี (Campari) ซึ่งชาวอิตาเลียนมองว่าอร่อยยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อจิบครั้งที่สาม รสขมนี่เองที่ดูเหมือนออกแบบมาเก็บเนโกรนี่ไว้ให้เป็นเครื่องดื่มเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

     และในปี 2021 ความดังของเนโกรนีก็ขยับขึ้นจากตลาดอินดี้สิบปีก่อน มาทะลุบิลบอร์ดชาร์9ยังไงอย่างนั้น จริงอยู่ที่เนโกรนีเป็นเครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อมาสักพักใหญ่ในหมู่นักดื่ม กรุงเทพฯ เองก็มีเทศกาลเนโกรนี Negroni Week ให้คนได้ลิ้มลองเครื่องดื่มนี้ในหลากหลายเวอร์ชั่นตามบาร์ทั่วเมือง แต่เมื่อบาร์ต้องปิดตัวจากการล็อกดาวน์ ผู้คนก็โหยหารสชาติแสนอร่อยติดขมนี่กันไม่เลิก เว็บไซต์จำหน่ายแอลกอฮอล์หลายรายยังจัดเซ็ตโปรโมชั่นพิเศษสำหรับทำเนโกรนีที่บ้านโดยเฉพาะ รวมไปถึงบาร์ชั้นนำในเมืองกรุงหลายแห่งที่จัดส่งค็อกเทลพิเศษนี้มาให้ประกอบเองถึงบ้าน (ก่อนมาตรการจำหน่ายแอลกอฮอล์จะคุมเข้มขึ้นนั่นแหละ)

 ถ้าเบียร์ดำ Guinness แสดงถึงความเป็นไอริชอย่างไร เนโกรนีก็เลือดข้นแดนรองเท้าบู๊ตเช่นนั้น นี่เป็นค็อกเทลที่มีต้นกำเนิดมาจากการที่ท่านเคาต์ชาวอิตาเลียนนามว่า คามิลโล เนโกรนี (Camillo Negroni) ได้หยุดแวะร้าน Cafe Cosini ในเมืองฟลอเรนซ์ในปี 1919 ท่านเคาต์ซึ่งเพิ่งกลับมาจากการใช้ชีวิตประสาคาวบอยและนักพนันที่อเมริกาได้ขอให้บาร์เทนเดอร์ ฟอสโก สการ์เซลลี (Fosco Scarselli) ทำอเมริกาโน่ (ที่ไม่ใช่กาแฟ แต่เป็นค็อกเทลที่ทำจากเวอร์มุธ คัมพารี และน้ำโซดา) ให้ โดยให้สลับน้ำโซดาเป็นจินแทน บาร์เทนเดอร์ยังสลับจากผิวมะนาวที่มักใช้ตกแต่งอเมริกาโนแทนด้วยเปลือกส้มให้ด้วย และเนโกรนีก็ถือกำเนิดขึ้น แต่ทุกวันนี้คนรักเนโกรนีก็ยังถกเถียงกันไม่จบว่าจริงๆ เป็นตัวท่านเคาต์หรือลูกหลานกันแน่

  ริชาร์ด กอดวิน (Richard Godwin) นักประพันธ์ผู้ช่ำชองเรื่องค็อกเทล ทั้งยังเขียนจดหมายข่าวที่ชื่อ The Spirits แสดงความเห็นว่า “เนโกรนีทำให้ผมนึกถึงสุภาพบุรุษอิตาลีที่แต่งตัวเนี้ยบ เดินยุรยาตรไปตามเมืองฟลอเรนซ์บนรองเท้าโลเฟอร์ที่ไม่ใส่ถุงเท้า และเสื้อคลุมของเขายังเนี้ยบเป็นที่สุด” ริชาร์ดบอกอีกว่าเนโกรนีแก้วหนึ่งสื่อถึงสิ่งที่เรียกว่า “sprezzatura” อารมณ์ตำรับชนแดนมักกะโรนีที่สื่อถึงการแสดงออกแบบผู้มีศิวิไลซ์และนิ่งอย่างสง่างาม “เพราะมันซับซ้อนมากแบบผู้ใหญ่ที่ได้มาจากรสขม และก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบ แต่ก็ได้สีแดงสดจากคัมพารีมาดึงให้ดูมีอะไรจนคนอยากดื่มขึ้น”

     น่าเสียดายที่บ้านเราไม่สนับสนุนการจัดส่งแอลกอฮอล์ถึงบ้านเหมือนกับประเทศอื่นที่นักดื่มและบาร์เทนเดอร์ยังพัฒนาเนโกรนีอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังสลับจากเปลือกส้มสำหรับตกแต่งเป็นพริกแห้งให้ดูไม่เหมือนค็อกเทลยอดนิยมอีกตัวอย่าง Aperol Spritz หรือใช้ใบสะระแหน่มาเป็นส่วนประกอบด้วย

     และหากใครยังจำได้ เมื่อเดือนเมษายนปี 2020 ที่เราเริ่มประชุมผ่าน Zoom กันเยอะจนเหนื่อย เนโกรนีก็ได้ดาราดัง สแตนลีย์ ทุชชี (Stanley Tucci) ในเสื้อโปโลสีดำมาแสดงนำในวิดีโอทิวทอเรียลที่เขาสาธิตวิธีทำเนโกรนีในครัวให้กับภรรยาบนอินสตาแกรม และวิดีโอนี้มีผู้ชมกว่าล้านครั้งไปแล้ว สแตนลีย์เป็นคนหนึ่งที่ปลุกกระแสเนโกรนีที่ดังอยู่แล้วให้ไปไกลยิ่งกว่าเดิม

     เรายังได้เห็นความสร้างสรรค์ของคนรักอาหารและการกินดื่มในช่วงล็อกดาวน์ที่ผู้คนโหยหาการได้แบ่งปันประสบการณ์ที่สนุกกว่าดื่มด่ำคนเดียว ค็อกเทลเป็นเหมือนสัญลักษณ์ มันมีความน่าตื่นเต้นในการได้แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับคนอื่น เหมือนกับได้เล่นรถไฟเหาะกับเพื่อนที่สนุกกว่าเล่นคนเดียว แต่ถ้าคุณไปนั่งทอดหุ่ยที่บาร์จิบเครื่องดื่มดีๆ สักแก้วไม่ได้ ก็ทำมันเองที่บ้านเสียเลย

     อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เนโกรนีเป็นค็อกเทลแห่งการล็อกดาวน์ประจำปี ก็เพราะทำได้แสนง่าย พลั้งได้ยาก (เว้นแต่คุณจะมีพรสวรรค์เรื่องทำพลาดจริงๆ นั่นแหละ) เพียงใช้จินที่ชอบ เหล้าเวอร์มุธ และคัมพารีในสัดส่วนเท่าๆ กัน แล้วก็เทลงบนแก้วใส่น้ำแข็งได้เลย แต่หากอยากลองอะไรใหม่ๆ เราแนะให้ลองเปลี่ยนจากผิวส้มมาเป็นผลไม้จำพวกเกรปฟรุต หรือผลไม้ที่ให้ความสดชื่นอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังเป็นค็อกเทลที่สามารถบรรจุในกระป๋องสำหรับจัดส่งได้โดยไม่เสียรสชาติ เพราะไม่มีส่วมผสมรสเปรี้ยวเหมือนค็อกเทลหลายๆ ตัว จึงไม่ยากสำหรับบาร์ที่ต้องการเสิร์ฟความอร่อยถึงบ้าน ทั้งยังดำเนินธุรกิจที่พวกเขาช่ำชองต่อได้เช่นกัน

     แต่ไม่ต้องห่วงเพราะเราคงไม่ได้ชิม

แหล่งที่มา https://www.gqthailand.com/lifestyle/article/stage-menu70-fine-dining

Add Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *